NOTE! This site uses cookies and similar technologies.

If you not change browser settings, you agree to it.

I understand

Reporting the underreported about the plan of action for People, Planet and Prosperity, and efforts to make the promise of the SDGs a reality.
A project of the Non-profit International Press Syndicate Group with IDN as the Flagship Agency in partnership with Soka Gakkai International in consultative status with ECOSOC.


SGI Soka Gakkai International

 

ความเท่าเทียมทางเพศทางเศรษฐกิจลดลง แม้จะมีการลงทุนในการศึกษาของเด็กผู้หญิงก็ตาม

โดย Thalif Deen

สหประชาชาติ (IDN) — การศึกษาใหม่สรุปว่าการลงทุนด้านการศึกษาของเด็กผู้หญิงนั้นไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจสำหรับผู้หญิง

นักวิจัยพบว่าแม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์อื่น ๆ มากมาย เช่น ในด้านผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้หญิงและครอบครัว แต่นักวิจัยมักพบว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจช่างน่าผิดหวัง

ผลการศึกษาซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม และเขียนโดยนักวิจัยจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ Center for Global Development ในวอชิงตันและลอนดอนพบว่าแม้ว่าจำนวนเด็กผู้หญิงที่ไปโรงเรียนในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้นำไปสู่การจ้างงานที่เท่าเทียมกันหรือความเท่าเทียมทางเพศทางเศรษฐกิจ

“การลงทุนในการศึกษาของเด็กผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล เราไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ แต่แค่รับเด็กผู้หญิงเข้าโรงเรียนก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเธอมีโอกาสที่เท่าเทียมในชีวิตต่อไป” กล่าวโดย Shelby Carvalho นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสของ Center for Global Development และหนึ่งในผู้เขียนหลักของรายงาน

เมื่อทำการวิเคราะห์จาก 126 ประเทศ พบว่าการทำงานของผู้หญิงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าเด็กผู้หญิงจะเข้าถึงการศึกษาได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากก็ตาม อันที่จริง ผู้หญิงยังคงมีโอกาสมากกว่าผู้ชายเป็นสองเท่าที่จะไม่ได้รับงานหรือการศึกษา

การศึกษาเรื่อง “Girls’ Education and Women’s Equality: How to Get More out of the World’s Most Promising Investment” (การศึกษาของเด็กผู้หญิงและความเท่าเทียมกันของผู้หญิง: ทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์จากการลงทุนที่ให้ความหวังมากที่สุดในโลก) เปิดเผยว่า:

-   โดยเฉลี่ยแล้ว แม้เด็กผู้หญิงจะเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนในอัตราที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้มีผู้หญิงทำงานเพิ่มขึ้นอย่างคงเส้นคงวา และหากพวกเธอมีงานทำ เธอก็ยังประสบกับช่องว่างทางเงินเดือนและความอาวุโสเป็นอย่างมาก

-  ในทั่วโลก เยาวชนที่ว่างงานส่วนใหญ่ (อายุระหว่าง 15-24 ปี) เป็นผู้หญิง

-     ในอินเดีย จำนวนผู้หญิงที่ทำงานไม่ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 แม้ว่าจำนวนเด็กผู้หญิงที่ไปโรงเรียนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากก็ตาม

-      หลักฐานจากเอธิโอเปีย มาลาวี ปากีสถาน และยูกันดาก็แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาในด้านการศึกษาของเด็กผู้หญิงไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ในด้านความเท่าเทียมของตลาดแรงงาน

-     ในละตินอเมริกา จำนวนผู้หญิงที่เข้าร่วมในตลาดแรงงานกลับลดลง แม้ว่าเด็กผู้หญิงจะประสบความสำเร็จในการเรียนมากขึ้นก็ตาม

เมื่อคุณ Carvalho ได้รับคำถามว่าข้อค้นพบครั้งใหม่นี้จะบ่อนทำลายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) 17 ประการของ UN หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อเพศของตนเองและการศึกษาของผู้หญิง เธอได้บอกกับ IDN ว่า “ข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อ SDG อย่างน้อย 3 ประการ”

เธอชี้ให้เห็นว่า SDG 5 เรียกร้องให้บรรลุความเท่าเทียมทางเพศและการเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทุกคน การศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ และประเทศต่าง ๆ ควรลงทุนในการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเด็กผู้หญิงทุกคนอย่างแท้จริง”

แต่เธอแย้งว่า หากไม่มีสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกันในโลกแห่งการทำงาน ผู้หญิงก็ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการศึกษาได้

“SDG 10 เรียกร้องให้ลดความไม่เท่าเทียมกันภายในประเทศและระหว่างประเทศ ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศเป็นสาเหตุหลักของความไม่เท่าเทียมกันภายในประเทศ และหากไม่มีผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำทางการเมืองหรือเป็นครูวิชาวิทยาศาสตร์ นั่นก็จะทำให้ความคืบหน้าช้าลง” เธอกล่าว

SDG 4 เรียกร้องให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน

“มีเด็กผู้หญิงในเบนินและกินี-บิสเซาเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพียงร้อยละ 5 และเด็กผู้หญิงน้อยกว่า 1 ใน 5 ในปาปัวนิวกินีและเฮติเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงเห็นได้ชัดว่าเรายังห่างไกลจากการบรรลุเป้าหมายที่สี่” เธอเสริม

ต่อไปนี้เป็นข้อความที่ตัดตอนมาจากการสัมภาษณ์:

ตามกฎหมายชะรีอะฮ์ สถานะของการศึกษาของเด็กผู้หญิงและการเสริมอำนาจทางเพศในประเทศต่าง ๆ เช่น อัฟกานิสถานและซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นอย่างไร?

Carvalho: เราพบว่า เมื่อมีกฎหมายหรือบรรทัดฐานที่เข้มงวดมากขึ้นซึ่งอาจจำกัดการศึกษาของเด็กผู้หญิง ความทะเยอทะยานของเด็กผู้หญิง หรือโอกาสของผู้หญิงในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ก็อาจจำกัดบทบาทของการศึกษา ทำให้ไม่สามารถกระตุ้นการเสริมอำนาจให้กับผู้หญิง และอาจกลายเป็นอุปสรรคอย่างต่อเนื่องต่อโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันในชีวิต แม้ว่าผลการศึกษาของชายและหญิงจะเท่าเทียมกันก็ตาม

แม้ว่าซาอุดีอาระเบียและอัฟกานิสถาน ตลอดจนประเทศอื่น ๆ จะมีความก้าวหน้าในบางพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเด็กผู้หญิงและสิทธิผู้หญิง แต่ก็ยังมีแง่มุมอื่น ๆ ทั้งในทางกฎหมายที่เป็นทางการและบรรทัดฐานทางสังคมที่อาจทำให้การศึกษาของเด็กผู้หญิงนั้นไม่สามารถส่งผลให้เกิดความเท่าเทียมอย่างที่เราคาดหวัง

ศาสนา (หรือการตีความศาสนาในทางที่ผิด) มีบทบาทในการเลือกปฏิบัติทางเพศหรือไม่?

Carvalho: บรรทัดฐานทางสังคมมีบทบาทสำคัญในการเลือกปฏิบัติทางเพศ และเราเห็นได้จากปรากฏการณ์ทางสังคมจำนวนหนึ่ง รวมทั้งในด้านศาสนา สังคมที่จำกัดความสามารถของผู้หญิงในการทำงานหรือจำกัดความสามารถในการทำงานในบางอุตสาหกรรม จะทำให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการศึกษาได้อย่างเต็มที่

ปัจจุบัน มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศต่าง ๆ ยังห้ามไม่ให้ผู้หญิงทำงานในอุตสาหกรรมเดียวกับผู้ชาย และบ่อยครั้ง อุตสาหกรรมที่มีผู้ชายทำงานเป็นหลักก็จะมีรายได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การจำกัดการเข้าถึงเครดิต การจำกัดชั่วโมงทำงาน ฯลฯ หากต้องการให้การศึกษาของเด็กผู้หญิงส่งผลดีได้จริง วิธีเดียวที่ต้องทำก็คือให้ผู้หญิงมีโอกาสเท่าเทียมกันในตลาดงาน

Carvalho ยังกล่าวอีกว่า “สำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลก เพียงเพราะคุณมีการศึกษาระดับเดียวกันกับเพื่อนชายของคุณ ก็ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะได้รับค่าจ้างสักเศษเสี้ยวหนึ่งของที่เขาหามาได้ และไม่ได้รับประกันว่าคุณจะได้ไปทำงานเพราะคุณยังต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานบ้านหรือดูแลบุตรโดยไม่ได้รับค่าจ้าง”

“การศึกษาไม่ได้รับประกันว่าคุณจะหลุดพ้นจากความรุนแรงจากผู้ชาย ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะมีโอกาสเจริญก้าวหน้าเหมือนกับผู้ชาย และไม่ได้รับประกันว่าสังคมที่ลูกของคุณเติบโตขึ้นมานั้นจะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น” Carvalho กล่าว

ในขณะเดียวกัน นักวิจัยยังแนะนำว่าระบบการศึกษาต้องทุ่มเทมากกว่านี้ในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ โดยทำให้แน่ใจว่าโรงเรียนจะปลอดภัยสำหรับเด็กผู้หญิง ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสนับสนุนเด็กผู้หญิงในช่วงที่เปลี่ยนผ่านจากโรงเรียนสู่ที่ทำงาน

“เรามีความรู้มากมายเกี่ยวกับวิธีการรับเด็กผู้หญิงเข้าโรงเรียนและวิธีช่วยให้พวกเธอเรียนรู้” กล่าวโดย David Evans ผู้ร่วมงานอาวุโสของ Center for Global Development และผู้เขียนหลักอีกคนของรายงาน “แต่เรายังต้องเรียนรู้อีกมากเกี่ยวกับวิธีการทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กผู้หญิงทุกคน”

เช่นนั้นแล้ว ผู้เขียนจึงได้ตรวจสอบการลงทุนในการศึกษาระดับโลกโดยผู้บริจาคชั้นนำ เช่น ธนาคารโลก และกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร (FCDO)

หน่วยงานเหล่านี้มักอ้างว่าตนให้ความสนใจในความเท่าเทียมทางเพศและการศึกษาของเด็กผู้หญิง โดยในปี 2020 ได้มีการใช้เงินทุนเพื่อการศึกษาของ FCDO ร้อยละ 92 และเงินทุนของธนาคารโลกร้อยละ 77 เพื่อดำเนินการในโครงการที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของเด็กผู้หญิง

“แต่สุดท้ายแล้ว น้อยกว่าครึ่งหนึ่งได้นำไปสู่โครงการที่มีเป้าหมายเฉพาะต่อเด็กผู้หญิงหรือความท้าทายเฉพาะที่พวกเธอต้องเผชิญ มีโครงการเล็ก ๆ เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่มุ่งเน้นไปที่การลดอคติทางเพศในห้องเรียน และน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถ การเข้าถึง สุขภาพและความปลอดภัย หรือการสนับสนุนเด็กผู้หญิง” การศึกษาระบุ

มีเอกสารโครงการการศึกษาของธนาคารโลกเพียงไม่กี่ฉบับในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่กล่าวถึงอุปสรรคเฉพาะของเด็กผู้หญิง เช่น การแต่งงานในวัยเด็ก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรือการจัดการสุขอนามัยในช่วงประจำเดือนที่ไม่เพียงพอ

“เนื่องจากสถาบันยังมีอคติทางเพศในด้านระบบการศึกษา และวิธีการแทรกแซงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วกลับไม่ได้รับความใส่ใจ (ทั้งนี้มีวิธีการแทรกแซงจำนวนมากที่ดำเนินการได้ง่าย เช่น การไม่คิดค่าธรรมเนียมการเข้าเรียนสำหรับเด็กผู้หญิง) กลุ่มเด็กผู้หญิงที่ยากจนที่สุดและอยู่ชายขอบมากที่สุดในโลกจึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และหนักขึ้นไปอีกเนื่องจากเกิดโรคระบาด”

เด็กหญิงที่ยากจนที่อาศัยอยู่นอกเมืองมักจะขาดเรียนบ่อย ในแถบแอฟริกาใต้สะฮารา มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนอาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนและอยู่ในพื้นที่ชนบท

“นอกจากนี้ เด็กผู้หญิงยังมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนมากกว่าเด็กผู้ชายเมื่อรายได้ครัวเรือนลดลง และนี่เป็นสถานการณ์ที่พบเห็นทั่วไปเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องกัน ตลอดจนปัญหาก่อนเกิดโรคระบาด เช่น พ่อแม่ตกงานหรือล้มป่วย”

“หากความเท่าเทียมทางเพศและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการศึกษานั้นไม่ใช่แค่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เราก็ต้องทุ่มเทมากกว่านี้ และเราอาจจะต้องคิดให้ต่างไปจากที่เราเคยคิดในอดีต” Carvalho กล่าว [IDN-InDepthNews – 15 พฤษภาคม 2022]

เครดิตภาพ: togetherforgirls.org

Newsletter

Striving

Striving for People Planet and Peace 2022

Mapting

MAPTING

Partners

SDG Media Compact


Please publish modules in offcanvas position.